Tag Archives: สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่มีมายาวนาน

ทางเลือกบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

เกิดขึ้นจากผลกระทบจากการพัฒนากระแสหลักที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความทันสมัย สร้างผลกระทบมากมายต่อชุมชนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม  ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร ปัญหาความยากจน ความแตกต่างระหว่างรายได้ของคนจนและคนรวย ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไปจากเดิม  คนต้องแสวงหาทางเลือกเพื่อความอยู่รอด จึงเกิดการพัฒนาทางเลือกขึ้นโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยคนในชุมชนเอง เพื่อนำเสนอให้สังคมโลกได้รับรู้ว่าการพัฒนากระแสหลักไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเสมอไป  แต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือการพัฒนาทางเลือกต่างหากที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของชุมชน

สังคมไทยในอดีตล้วนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่แวดล้อมอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆเป็นตัวกำหนดรากฐานทางภูมิปัญญาดั่งเดิมที่สืบทอดมา แม้ว่ากระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงจะเป็นตัวแปรที่ทำให้สูญหายไปบ้า’ตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงเหลือร่องรอยอยู่บ้างโดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีท้องถิ่นที่แสดงถึงประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถของชาวบ้านในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยใช้ศักยภาพของตนเองรังสรรค์และถ่ายทอดคุณค่าแห่งภูมิปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกให้เราได้ทราบว่าในบรรพกาล บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าทางอารยธรรม วัฒนธรรมต่างๆที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่

การเรียนรู้ภูมิปัญญาให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดประมวลผล ตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชน และเชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ต่อสู้กับกระแสของการรุกของวัฒนธรรมยุคใหม่โดยการรวมกลุ่มเยาวชน และชุมชนโดยตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน มีความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ชุมชนภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถทำให้ความรู้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบันได้

ประการแรกคือการอนุรักษ์ เป็นการบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ เช่น ประเพณีต่างๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟู เป็นการรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ การประยุกต์ เป็นการปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม